ชุบโครเมี่ยม (Chromium plating) หรือเรียกอีกชื่อว่า “การชุบโครม” คือ การชุบเงาบนผิวโลหะ หรือ พลาสติก ด้วยโครเมี่ยมในกระบวนการวิธีการชุบโดยใช้ไฟฟ้า ช่วยให้วัสดุที่ได้รับการชุบมีความเงาสวยงาม ป้องกันการถลอกจากการกัดกร่อนและการกระแทก นิยมใช้ในการชุบผิวบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ชิ้นส่วนรถยนต์ ล้อรถจักรยานยนต์ และเครื่องประดับตกแต่งอื่นๆ การชุบโครม ถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2467 ในชิ้นส่วนตกแต่งและเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งจะนิยมชุบเคลือบผิวด้วยความหนาประมาณ 0.25-0.8 ไมโครเมตร บนผิวนิเกิลซึ่งจะให้ประสิทธิภาพการทนต่อการกัดกร่อนดีมาก ส่วนใหญ่ในสมัยก่อน การชุบนิยมใช้สารละลายโครเมี่ยม 6 ประจุ ( Cr6+ , Hexavalent chromium ) และค่อยๆเปลี่ยนมาใช้สายละลายโครเมี่ยม 3 ประจุ ( Cr3+ , trivalent chromium ) ในช่วงสมัยหลังๆ บทความนี้จะอธิบายพื้นฐานการชุบโครเมี่ยม รวมถึงขั้นตอนและเทคนิคต่างๆให้มือใหม่และผู้ที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างละเอียด
รูปที่ 1 สิ่งของในชีวิตประจำวันที่ทำการชุบโครเมี่ยมบนผิว
รายละเอียด ฮีตเตอร์สำหรับชุบโลหะ
สารบัญเนื้อหา
พื้นฐานการชุบโครเมี่ยม
การชุบโครมใช้กระบวนการพื้นฐานของการชุบด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นการดึงประจุของโครเมี่ยมในสารละลายไปจับตัวที่พื้นผิวของชิ้นงานด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งกระบวนการอย่างคร่าวๆสามารถดูได้จากวีดีโอด้านล่างนี้วีดีโอที่ 1 แสดงขั้นตอนการชุบโครเมี่ยม
Credit : youtube.com/watch?v=iLgiTAz86Hw
ขั้นตอนการชุบโครเมี่ยมบนโลหะ
การชุบโครมเมี่ยมบนพื้นผิวโลหะเริ่มจากการเตรียมผิวชิ้นงานและการทำความสะอาด หลังจากนั้น จำเป็นต้องมีการชุบทองแดงและนิเกิลก่อนการชุบโครเมี่ยมในขั้นตอนสุดท้ายขั้นตอนการเตรียมผิวชิ้นงาน
การล้างทำความสะอาดพื้นผิวและคราบไขมันบนพื้นผิวชิ้นงาน ( cleaning and degreasing )
เพื่อชะล้างเศษซาก ทราย และคราบไขมันที่เกาะอยู่บนชิ้นงาน โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้
2.1 จุ่มชิ้นงานลงในบ่อชะล้างโซดาไฟ ( Caustic bath cleaning )
ขั้นตอนนี้ใช้สารละลายโซดาไฟเพื่อชะล้างคราบไขมัน โดยให้ความร้อนโซดาไฟที่ อุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส ด้วย ฮีตเตอร์สแตนเลส หรือ ฮีตเตอร์ไทเทเนียม ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของชิ้นงานแต่ละชิ้น หลังจากน้ำทำการจุ่มล้างด้วยน้ำเปล่า2.2 จุ่มชิ้นงานลงในบ่อล้างด้วยไฟฟ้า ( Anodic Electrocleaning )
เหมาะกับชิ้นงานที่เป็นโลหะส่วนใหญ่ แต่ไม่นิยมใช้กับ ชิ้นงานพลาสติก และโลหะที่สามารถละลายในสารละลายอัลคาไลน์ได้ เช่น อลูมิเนียม โครเมี่ยม ดีบุก ตะกั่ว ทองแดง แมกนีเซียม และอื่นๆ ขั้นตอนนี้ใช้เพื่อทำความสะอาดสิ่งที่บ่อโซดาไฟไม่สามารถชะล้างออกได้ วิธีการทำคือการนำชิ้นงานมาต่อกับขั้วบวกของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อทำให้เป็นขั้วแอโนด และใช้แผ่นล่อหรือแผ่นโครเมี่ยมตะกั่วต่อกับขั้วลบของแหล่งจ่ายไฟเพื่อทำให้เป็นขั้วแคโทด ส่วนสารละลายขึ้นอยู่กับชนิดของชิ้นงาน เช่น ไซยาไนด์ หรืออื่นๆการกัดเปิดผิวชิ้นงาน ( Etching surface )
การชุบเตรียมผิวด้วยนิกเกิล ( Nickel Strike )
การชุบเตรียมผิวด้วยทองแดง ( Copper Strike )
การชุบทองแดงเงา ( Bright Copper )
การชุบนิเกิลเงา ( Bright Nickel )
การชุบโครเมี่ยม ( Chromium plating )
ขั้นตอนการชุบโครเมี่ยมบนพลาสติก ABS
การชุบโครมบนพลาสติก ABS สามารถทำได้เช่นกัน โดยตัวอย่างสิ่งที่เราเห็นบ่อยๆรอบตัว เช่น ชิ้นส่วนภายในรถยนต์ บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง เครื่องประดับตกแต่ง โดยจะมีขั้นตอนที่แตกต่างจากการชุบโลหะเล็กน้อย สิ่งที่แตกต่างจากการชุบโครเมี่ยมบนผิวโลหะ คือ พลาสติก ABS ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ จึงจำเป็นต้องมีการชุบพลาสติกให้นำไฟฟ้าได้ก่อนด้วยปฎิกิริยาเคมี เราเรียกกระบวนการนี้ว่า conductive electroless process หลังจากนั้น จึงทำการชุบนิเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ( electroless Nickel ) และจึงทำการชุบเหมือนกับการชุบโครมบนผิวโลหะรูปที่ 2 แสดงการเปลี่ยนพื้นผิวพลาสติกให้สามารถนำไฟฟ้าได้
Credit : Plating on acrylonitrile–butadiene–styrene (ABS) plastic: a review : Sharon Olivera1•Handanahally Basavarajaiah Muralidhara1•Krishna Venkatesh1•Keshavanarayana Gopalakrishna1•Chinnaganahalli Suryaprakash Vivek
ขั้นตอนการเตรียมผิวชิ้นงาน
การแช่ล้างผิวด้วยสารละลายอัลคาไลน์ ( Soak Cleaning )
การซีลปิดผิว ( Sealing )
การกัดเปิดผิวชิ้นงาน ( Surface etching )
ล้างโครเมี่ยมด้วยกรด ( Chromium reduction )
ชุบเปลี่ยนผิวเพื่อให้โลหะยึดเกาะได้ ( Surface activation )
การเร่งปฎิกิริยา ( Acceleration )
ชุบผิวด้วยนิเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ( Electroless Nickel plating )
การชุบผิวทองแดงด้วยไฟฟ้า ( Electrolytic Copper Plating )
การชุบผิวนิเกิลด้วยไฟฟ้า ( Electrolytic Nickel Plating )
การชุบโครเมี่ยม
กระบวนการชุบโครเมี่ยมด้วย Hexavalent chromium
กระบวนการชุบโครม Hexavalent chromium หรือ hex-chrome Cr6+ เป็นการใช้ สารละลายโครเมี่ยมไตรออกไซด์ หรือเรียกโดนทั่วไปว่า โครมิกไฮไดร์ ( chromium trioxide or chromic anhydride ) เป็นสารประกอบหลัก ในกระบวนการชุบนั้น โดยใช้สารละลายแคทตาไลท์ซึ่งเป็นส่วนผสมของ โครเมี่ยมไตรออกไซด์ ( chromium trioxide ) และ กรดซัลฟิวริก ( sulfuric acid ) ซึ่งมีอัตราส่วนผสมระหว่าง 75:1 ถึง 250:1 โดยน้ำหนัก คุณภาพของงานชุบโครเมี่ยมขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของสารละลาย ปริมาณกระแสไฟฟ้า และส่วนผสมของสารละลาย การชุบโครมทั้งเพื่อให้ชิ้นงานสวยงาม หรือ เพื่อเพิ่มความแข็ง จำเป็นต้องใช้ฮีตเตอร์หลอดแก้วเพื่อเพิ่มอุณหภูมิของสารละลายทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่การชุบโครเมี่ยมเพื่อความสวยงามชองชิ้นงานจะควบคุมให้อุณหภูมิอยู่ในช่วง 35-45 องศาเซลเซียส ส่วนสำหรับงานชุบฮาร์ดโครมเพื่อเพิ่มความแข็งจะใช้อุณหภูมิประมาณ 50-65 องศาเซลเซียส โดยการชุบโครมทั้งสองแบบต้องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่อยู่ตลอดเวลาชนิด | Single-Catalyst | Dual-Catalyst | Triple-Catalyst | SRHS |
---|---|---|---|---|
สารละลาย Catalyst | Sulfate | Sulfate-Fluoride | Sulfate-Fluoride-Organic | Sulfate-Organic regulator |
คุณสมบัติ | ควบคุมการชุบได้ง่ายเนื่องจากทนต่อการปนเปือนของสารเคมี | การยึดเกาะของชั้นโครเมี่ยมดีเยี่ยม | ประสิทธิภาพการชุบโครมดี นิยมใช้อย่างแพร่หลาย | การเปลี่ยนแปลงของซัลเฟตเกิดผลต่อประสิทธิภาพน้อยกว่าแบบอื่น |
ความเข้มข้นของ CrO3 (กรัม/ลิตร) | 450-500 | 180-400 | 250 | 240 |
อัตราส่วน CrO3 : H2SO4 | 100:1 | 200-300:1 | 160-170:1 | 260-270:1 |
ประสิทธิภาพแคโทด (เปอร์เซนต์) | 8 | 12-18 | 20-25 | 15 |
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) | 37 | 37-40 | 40 | 40-45 |
ความหนาแน่นของกระแส (แอมแปร์ต่อตารางฟุต) | 80-102 | 100-150 | 90-150 | 110-160 |
ส่วนผสมของออกไซด์ (กรัมต่อลิตร) | <22 | 10-20 | <12 | <12 |
ตารางที่ 1 ข้อมูลแต่ละชนิดของการชุบโครเมี่ยมแบบ Hexavalent Chromium
Credit : https://www.pfonline.com/articles/chromium-plating(2)
ชนิดของอิเล็กโทรไลท์
จากตารางแสดงชนิดของ Hexavalent chromium แสดงให้เห็นว่า อิเล็กโทรไลท์ประเภท Triple-Catalyst ให้ประสิทธิภาพแคโทดมากกว่าอิเล็กโทรไลท์ประเภทอื่น จึงทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆความเข้มข้นของสารละลาย
ประสิทธิภาพแคโทดนั้นเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของโครเมี่ยมไตรออกไซด์ และมีประสิทธิภาพดีที่สุดที่ 250 กรัมต่อลิตรซึ่งหากมีความเข้มข้นมากกว่า 250 กรัมต่อลิตร จะทำให้ประสิทธิภาพแคโทดลดลง แต่อย่างไรก็ตามความเข้มขึ้นที่มากขึ้นนั้น สามารถทำการควบคุมได้ง่ายกว่า และการปนเปื้อนส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานน้อยกว่าด้วยการควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้า
จากตารางด้านบนแสดงให้เห็นว่า กระแสไฟฟ้าสูงให้ผลต่อประสิทธิภาพแคโทดดีกว่าอุณหภูมิของสารละลาย
สภาวะอุณหภูมิของสารละลายนั้นทำให้ประสิทธิภาพของแคโทดลดลง แต่ในทางปฎิบัตแล้วการเพิ่มกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแคโทด จำเป็นต้องใช้สารละลายที่อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญในการควบคุมกระแสไฟฟ้าและอุณหภูมิของสารละลายซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงคู่กันเสมอการคำนวณเวลาที่ใช้ในการชุบโครเมี่ยมสำหรับ Hexavalent
การควบคุมกระแสไฟฟ้าและอุณหภูมิของสารละลายมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของแคโทด โดยตารางที่ 2 แสดงเวลาโดยประมาณ ต่อประสิทธิภาพแคโทดและกระแสไฟฟ้า ที่ทำให้งานชุบโครเมี่ยมมีความหนาเพิ่มขึ้น 1 ไมครอน ซึ่งตารางนี้เป็นผลโดยประมาณภายใต้เงื่อนไขที่กระแสไฟฟ้ามีค่าคงที่ประสิทธิภาพแคโทด % | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหนาแน่นของกระแส (แอมแปร์ต่อตารางฟุต) | 8 % | 10 % | 13 % | 14 % | 16 % | 18 % | 20 % | 22 % |
80 A/ft2 | 20.6 | 16.5 | 13.8 | 11.8 | 10.3 | 9.17 | 8.25 | 7.5 |
100 A/ft2 | 16.5 | 13.2 | 11.0 | 9.44 | 8.25 | 7.34 | 6.6 | 6.0 |
120 A/ft2 | 13.7 | 11.0 | 9.17 | 7.85 | 6.88 | 6.1 | 5.5 | 5.0 |
160 A/ft2 | 10.3 | 8.25 | 6.86 | 5.90 | 5.15 | 4.58 | 4.13 | 3.75 |
200 A/ft2 | 8.25 | 6.6 | 5.5 | 4.71 | 4.12 | 3.66 | 3.3 | 3.0 |
250 A/ft2 | 6.6 | 5.28 | 4.4 | 3.77 | 3.3 | 1.94 | 2.64 | 2.4 |
300 A/ft2 | 5.5 | 4.4 | 3.66 | 3.14 | 2.75 | 2.45 | 2.2 | 2.0 |
350 A/ft2 | 4.7 | 3.78 | 3.14 | 2.7 | 2.35 | 2.1 | 1.89 | 1.73 |
400 A/ft2 | 4.12 | 3.3 | 2.74 | 2.35 | 2.06 | 1.83 | 1.65 | 1.5 |
450 A/ft2 | 3.66 | 2.93 | 2.44 | 2.1 | 1.83 | 1.66 | 1.47 | 1.33 |
500 A/ft2 | 3.3 | 2.64 | 2.2 | 1.87 | 1.65 | 1.47 | 1.32 | 1.2 |
550 A/ft2 | 3.0 | 2.4 | 2.0 | 1.71 | 1.5 | 1.34 | 1.2 | 1.09 |
600 A/ft2 | 2.75 | 2.2 | 1.84 | 1.57 | 1.38 | 1.22 | 1.1 | 1.0 |
650 A/ft2 | 2.54 | 2.03 | 1.7 | 1.45 | 1.27 | 1.13 | 1.02 | 0.93 |
700 A/ft2 | 2.36 | 1.89 | 1.58 | 1.35 | 1.18 | 1.05 | 0.95 | 0.87 |
ตารางที่ 2 เวลาที่ใช้เพิ่มความหนาชั้นโครเมี่ยม 1 ไมครอน โดยวิธีการ Hexavalent Chromium
Credit : https://www.pfonline.com/articles/chromium-plating(2)
อุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับการชุบโครเมี่ยมด้วย Hexavalent
โดยส่วนใหญ่แล้วถังหรือบ่อสำหรับน้ำยาชุบโครมส่วนใหญ่ทำจาก PVC การให้ความร้อนแก่สารละลายสามารถใช้ทั้ง ฮีตเตอร์หลอดแก้ว และ ฮีตเตอร์ไทเทเนียม ได้ และขั้วไฟฟ้าแอโนดนิยมใช้ แอโนตะกั่ว–ดีบุก หรือเรียกอีกชื่อว่า แผ่นโครเมี่ยม ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเป็นประจุบวกและควบคุมความสมดุลของ ประจุโครเมี่ยมและกรดโครมิก โดยทั่วไปนิยมใช้แผ่นโครเมี่ยมให้มีพื้นที่มากกว่า 120% ของพื้นที่ผิวชิ้นงาน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลจากแอโนดผ่านสารละลายไปสู่ชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแอโนดแล้ว จะเกิดชั้นผิวสีน้ำตาลคล้ายช็อกโกแลตบริเวรแอโนดซึ่งเกิดจากกระบวนการ re-oxidized ของกรดโครมิกบริเวณขั้วแอโนดนั่นเองข้อเสียของการชุบโครเมี่ยมด้วย Hexavalent
ข้อเสียของการชุบโครมด้วย Hexavalent คือ มีประสิทธิภาพแคโทดต่ำและการชุบไม่สม่ำเสมอ กล่าวคือชั้นชุบจะหนากว่าบริเวณขอบชิ้นงาน และบางกว่าบริเวณมุมและรูของชิ้นงาน จึงจำเป็นต้องมีการทำแอโนดใกล้บริเวณที่บาง หรือเรียกว่า auxiliary anodes เพื่อทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปบริเวณที่ยากต่อการไหลมากขึ้น การชุบโครมด้วยวิธีนี้ยังเป็นพิษมากต่อสุขภาพของผู้ทำงานและสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีการบำบัดก่อนการปล่อยสารเคมีหรือกำจัดอย่างถูกวิธีซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีวัสดุมีพิษจากแอโนดตะกั่วที่จำเป็นต้องกำจัดอย่างถูกวิธีกระบวนการชุบโครเมี่ยมด้วย Trivalent chromium
กระบวนการชุบโครม Trivalent chromium หรือ tri-chrome Cr3+ เป็นการใช้ โครมเมี่ยมซัลเฟต ( Chromium sulfate ) หรือ โครเมี่ยมคลอไรด์ ( Chromium chloride ) เป็นสารละลายหลัก ซึ่งกระบวนการชุบนั้นคล้าย Hexavalent chromium ต่างกันเพียงสารเคมีและแอโนด ในปัจจุบัน Trivalent chromium มีความนิยมใช้มากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพแคโทดสูงกว่าและยังเป็นพิษน้อยกว่าแบบ Hexavalent chromium ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดเวลาในการผลิต นอกจากนี้โลหะหนักในสารละลายยังน้อยกว่ามาก จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดสารเคมีเสียที่เกิดจากการชุบโครเมี่ยม แม้จะมีข้อดีมากมายแต่การชุบโครมแบบ Trivalent chromium จะให้เฉดสีที่ไม่แวววาวและมืดกว่าการชุบด้วย Hexavalent chromium จึงไม่เป็นนิยมสำหรับการชุบเพื่อความสวยงามมากนักชนิด | Chloride | Sulfate System 1 | Sulfate System 2 |
---|---|---|---|
pH | 2.8 | 3.4 | 3.4 |
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) | 33 | 55 | 55 |
ความหนาแน่นของกระแสแคโทด (แอมแปร์ต่อตารางฟุต) | 80-200 | 40-60 | 100 |
ความหนาแน่นของกระแส แอโนด(แอมแปร์ต่อตารางฟุต) | 30-60 | 50 | 50 |
ชนิดแอโนด | แกรไฟต์ (คอร์บอน) | ไทเทเนียม | ไทเทเนียม |
สีของการชุบ | ค่อนข้างดำ | สว่าง | สว่างที่สุด |
อัตราการชุบโครม (ไมครอน/นาที) | 0.15-0.25 | <0.03 | 0.02-0.04 |
ตารางที่ 3 ตารางแสดงข้อมูลแต่ละชนิดของการชุบโครเมี่ยมแบบ Trivalent Chromium
Credit : https://www.pfonline.com/articles/chromium-plating(2)
อิเล็คโทรไลท์สำหรับการ Trivalent chromium นั้นแบ่งเป็น ซัลเฟต ( Sulfate-based ) และ คลอไรด์ ( chloride-based ) ซัลเฟต ( Sulfate-based ) นั้นให้สีใกล้เคียงกับกับชุบโครเมี่ยมด้วย Hexavalent chromium อีกทั้งสารเคมียังเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า แต่จำเป็นต้องใช้แอโนดที่ทำจากไทเทเนียมซึ่งมีราคาสูง ส่วน คลอไรด์ ( chloride-based ) มีอัตราเร็วในการชุบใกล้เคียงกับ Hexavalent chromium แต่ให้สีสันที่มืดกว่าการชุบโครเมี่ยมแบบ Hexavalent chromium แต่ใช้แอโนดชนิดแกรไฟต์ซึ่งมาราคาไม่สูงมากนัก